วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

                                                  ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต

คือ    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งขยายความได้ดังนี้ คือ การที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยผ่านสาย Cable หรือ สายโทรศัพท์ ดาวเทียม ฯลฯ การติดต่อนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ใช้ Printer หรือ CD-Rom ร่วมกัน เราเรียกพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ว่า เครือข่าย (Network) ซึ่งเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า อินเตอร์เน็ต นั่นเอง





การที่คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนคนเรา คือต้องมีภาษาพูดคุยกันโดยเฉพาะคนไทยก็พูดภาษาไทย คนอังกฤษก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษได้ถูกกำหนดเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารกันของทุกประเทศทั่วโลก สำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ก็มีภาษาที่ใช้คุยกันเหมือนกัน ซึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ พูดคุยกันรู้เรื่องนั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ว่า โปรโตคอล (Protocol)






ข้อดี - การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่าย
         - ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย


ข้อเสีย - ต้องใช้สายจำนวนมาก
            - ถ้าฮับ(Hub)เสีย ระบบเครือข่ายจะ หยุดชะงักทั้งหมดทันที



                      เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลาย คือ


1.   การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบ
ปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อ สื่อสารกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Macintosh ได้


2.   อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกัน หรือห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึง กันได้



3.   อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิด มัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้



วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีทำชั้นวางแผ่นซีดี

                                                     ขั้นตอนการทำงาน
 วิธีทำชั้นวางแผ่นซีดี

 การทำชั้นวางแผ่น ซีดี ควรเลือกไม้ที่ไสมาเรียบร้อยแล้วและสามารถเลือกไม้ได้ทุกประเภทเช่น ไม้สัก สน แอ็ช ตามความชอบ


ขั้นตอนที่ 1

   เลือกไม้ที่ไสเรียบร้อยแล้วที่มีความหนา 1/2 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว ใช้ตลับเมตรวัดและขีดเส้นให้ได้ฉากเลื่อยขนาด 15 x 15 เซนติเมตร ด้วยเลื่อยลันดาหรือเลื่อยลอ จำนวน 6 แผ่น


ขั้นตอนที่ 2

ตอกตะปูขนาด ¾ นิ้ว ที่ปลายไม้โดยวัดเข้ามาจากปลายไม้ 1 เซนติเมตร 2 ตัวระยะห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร จำนวน 3 แผ่นรอไว้
                                               


ขั้นตอนที่ 3

ทากาวลาเทกซ์ที่หัวไม้อีกแผ่นและตอกประกบไม้สองแผ่นเข้าหากันโดยเช็คให้ได้ ฉากตลอด ทำตามขั้นที่ 1- 3 จนครบ



ขั้นตอนที่ 4

ตอกส่งหัวตะปูให้จมในเนื้อไม้ด้วยเหล็กส่งหัวตะปูและอุดด้วยวัสดุที่มีสีเดียวกับไม้และขัดแต่งด้วยกระดาษทรายเบอร์ 2 และเบอร์ 0 ให้เรียบลูบจนเนียนมือ


ขั้นตอนที่ 5

ทาสีประเภทชแลคสำเร็จรูป ให้ผิวไม้เรียบเนียน โดยจะต้องรอแห้ง และขัดเรียบก่อนการทาเที่ยวต่อไป ทาชแลคสำเร็จรูป 2 เที่ยว ตามด้วยทาแลคเกอร์ 2 เที่ยว

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ความหมายของงานประดิษฐ์และประโยชน์ของงานประดิษฐ์

            
ความหมายงานประดิษฐ์
        
 จุดประสงค์การเรียนรู้

1.  บอกความหมายงานประดิษฐ์
2. มีความรู้ความเข้าใจงานประดิษฐ์

ความหมาย ของงานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์หมายถึงประดิษฐ์ แปลว่า คิดทำขึ้น
งานประดิษฐ์ จึงหมายถึง การนำเอาวัสดุต่างๆ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อประโยชน์ใช้สอยด้านต่างๆ เช่น เป็นของเล่น ของใช้ หรือเพื่อความสวยงาม

ประโยชน์ของงานประดิษฐ์

1.   ประหยัดค่าใช้จ่าย หากสามารถประดิษฐ์ชิ้นงานตามความต้องการได้
2.   ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และได้สร้างงานที่มีคุณภาพ
3.   ความเพลิดเพลิน ทำให้จิตใจจดจ่อต่อชิ้นงานที่ทำและมีสมาธิที่ดีต่อการทำงาน สามารถลดความเครียดได้
4.   เพิ่มคุณค่าของวัสดุ เช่น เศษวัสดุ วัสดุท้องถิ่นและอื่น ๆ ทำให้มีมูลค่าและประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
5.   สร้างความแปลกใหม่จากที่มีอยู่เดิม ทำให้ไม่ซ้ำแบบเดิม มีการปรับปรุงและดัดแปลงให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
6.   ชิ้นงานตรงตามความต้องการ เพราะเป็นผู้ผลิตด้วยตนเองและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกวิธีและถูกต้อง
7.   เป็นของกำนัลแก่ผู้อื่น ทำให้เห็นคุณค่าทางจิตใจทั้งผู้ให้และผู้รับ
8.   อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น มาลัย กระทงใบตอง แกะสลักผักและผลไม้ เครื่องแขวนและอื่นๆ เป็นต้น
9.   เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการของชีวิตได้มากขึ้น
10.  เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ที่ประดิษฐ์ชิ้นงานได้อย่างมีคุณภาพ สวยงาม เป็นที่ ชื่นชอบและสนใจแก่ผู้พบเห็น