วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันลอยกระทง

วันลอยกระทงขึ้น 15 ค่ำ เดือน

กำหนดวันลอยกระทง

     วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง


ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง

    ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

    ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า

   "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."


     เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

     ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย


เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง

สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่

    1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

    2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

    3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

    4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้

    5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

    7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีก



ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภาค

ลักษณะการจัดงานลอยกระทงของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันคือ

     ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า


    จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"


     จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีลอยกระทง ด้วยความเป็นจังหวัดต้นกำเนิดของประเพณีนี้ โดยการจัดงาน ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ที่จังหวัดสุโขทัยถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2520 ซึ่งจำลองบรรยากาศงานมาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย และหลังจากนั้นก็มีการจัดงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยทุก ๆ ปี มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล และไฟพะเนียง


     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง


     กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง


     ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี

กิจกรรมในวันลอยกระทง

     ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม


     เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา

    นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

                                                  ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต

คือ    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งขยายความได้ดังนี้ คือ การที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยผ่านสาย Cable หรือ สายโทรศัพท์ ดาวเทียม ฯลฯ การติดต่อนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ใช้ Printer หรือ CD-Rom ร่วมกัน เราเรียกพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ว่า เครือข่าย (Network) ซึ่งเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า อินเตอร์เน็ต นั่นเอง





การที่คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนคนเรา คือต้องมีภาษาพูดคุยกันโดยเฉพาะคนไทยก็พูดภาษาไทย คนอังกฤษก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษได้ถูกกำหนดเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารกันของทุกประเทศทั่วโลก สำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ก็มีภาษาที่ใช้คุยกันเหมือนกัน ซึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ พูดคุยกันรู้เรื่องนั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ว่า โปรโตคอล (Protocol)






ข้อดี - การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่าย
         - ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย


ข้อเสีย - ต้องใช้สายจำนวนมาก
            - ถ้าฮับ(Hub)เสีย ระบบเครือข่ายจะ หยุดชะงักทั้งหมดทันที



                      เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลาย คือ


1.   การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบ
ปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อ สื่อสารกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Macintosh ได้


2.   อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกัน หรือห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึง กันได้



3.   อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิด มัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้



วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีทำชั้นวางแผ่นซีดี

                                                     ขั้นตอนการทำงาน
 วิธีทำชั้นวางแผ่นซีดี

 การทำชั้นวางแผ่น ซีดี ควรเลือกไม้ที่ไสมาเรียบร้อยแล้วและสามารถเลือกไม้ได้ทุกประเภทเช่น ไม้สัก สน แอ็ช ตามความชอบ


ขั้นตอนที่ 1

   เลือกไม้ที่ไสเรียบร้อยแล้วที่มีความหนา 1/2 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว ใช้ตลับเมตรวัดและขีดเส้นให้ได้ฉากเลื่อยขนาด 15 x 15 เซนติเมตร ด้วยเลื่อยลันดาหรือเลื่อยลอ จำนวน 6 แผ่น


ขั้นตอนที่ 2

ตอกตะปูขนาด ¾ นิ้ว ที่ปลายไม้โดยวัดเข้ามาจากปลายไม้ 1 เซนติเมตร 2 ตัวระยะห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร จำนวน 3 แผ่นรอไว้
                                               


ขั้นตอนที่ 3

ทากาวลาเทกซ์ที่หัวไม้อีกแผ่นและตอกประกบไม้สองแผ่นเข้าหากันโดยเช็คให้ได้ ฉากตลอด ทำตามขั้นที่ 1- 3 จนครบ



ขั้นตอนที่ 4

ตอกส่งหัวตะปูให้จมในเนื้อไม้ด้วยเหล็กส่งหัวตะปูและอุดด้วยวัสดุที่มีสีเดียวกับไม้และขัดแต่งด้วยกระดาษทรายเบอร์ 2 และเบอร์ 0 ให้เรียบลูบจนเนียนมือ


ขั้นตอนที่ 5

ทาสีประเภทชแลคสำเร็จรูป ให้ผิวไม้เรียบเนียน โดยจะต้องรอแห้ง และขัดเรียบก่อนการทาเที่ยวต่อไป ทาชแลคสำเร็จรูป 2 เที่ยว ตามด้วยทาแลคเกอร์ 2 เที่ยว

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ความหมายของงานประดิษฐ์และประโยชน์ของงานประดิษฐ์

            
ความหมายงานประดิษฐ์
        
 จุดประสงค์การเรียนรู้

1.  บอกความหมายงานประดิษฐ์
2. มีความรู้ความเข้าใจงานประดิษฐ์

ความหมาย ของงานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์หมายถึงประดิษฐ์ แปลว่า คิดทำขึ้น
งานประดิษฐ์ จึงหมายถึง การนำเอาวัสดุต่างๆ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อประโยชน์ใช้สอยด้านต่างๆ เช่น เป็นของเล่น ของใช้ หรือเพื่อความสวยงาม

ประโยชน์ของงานประดิษฐ์

1.   ประหยัดค่าใช้จ่าย หากสามารถประดิษฐ์ชิ้นงานตามความต้องการได้
2.   ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และได้สร้างงานที่มีคุณภาพ
3.   ความเพลิดเพลิน ทำให้จิตใจจดจ่อต่อชิ้นงานที่ทำและมีสมาธิที่ดีต่อการทำงาน สามารถลดความเครียดได้
4.   เพิ่มคุณค่าของวัสดุ เช่น เศษวัสดุ วัสดุท้องถิ่นและอื่น ๆ ทำให้มีมูลค่าและประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
5.   สร้างความแปลกใหม่จากที่มีอยู่เดิม ทำให้ไม่ซ้ำแบบเดิม มีการปรับปรุงและดัดแปลงให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
6.   ชิ้นงานตรงตามความต้องการ เพราะเป็นผู้ผลิตด้วยตนเองและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกวิธีและถูกต้อง
7.   เป็นของกำนัลแก่ผู้อื่น ทำให้เห็นคุณค่าทางจิตใจทั้งผู้ให้และผู้รับ
8.   อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น มาลัย กระทงใบตอง แกะสลักผักและผลไม้ เครื่องแขวนและอื่นๆ เป็นต้น
9.   เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการของชีวิตได้มากขึ้น
10.  เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ที่ประดิษฐ์ชิ้นงานได้อย่างมีคุณภาพ สวยงาม เป็นที่ ชื่นชอบและสนใจแก่ผู้พบเห็น


วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีทำ โคมไฟกระดาษสา

                                                      วิธีทำ โคมไฟกระดาษสา








                        อุปกรณ์ : โคมไฟกระดาษสา l กระดาษสา

             1. ไฟกระพริบ 1 ชุด 35 ดวง( ถ้าใช้กระดาษสี ควรใช้หลอดใส ถ้าใช้กระดาษขาว ก็ควรเลือกไฟกระพริบสี )
              2. กระดาษสา 1 แผ่น เลือกสีและลายตามใจชอบ
              3. กาวUHU หลอดเล็ก 1 หลอด
              4. ดิ้นทองเส้นเล็กๆ 2-3 เมตร( ใช้ดิ้นทองแทนด้าย เพื่อให้ดุสวย ถ้าเป็นด้ายเห็นแล้วคงไม่งามนัก แต่ถ้าไม่ใช้เชื่อกมัด อีกหน่อยกาวเสื่อม มันอาจจะหลุดได้ )

                        วิธีทำ : โคมไฟกระดาษสา l กระดาษสา

              1. ตัดกระดาษสา ขนาด 6.5 - 7 ซม. หรือประมาณ 2.5 - 2.7 นิ้ว เป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านเท่า
              2. นำกระดาษมาพับครึ่งด้านไม่เท่า เฉียงนิดๆ เพื่อให้ปลายไม่ตรงกัน
              3. ทากาวยูฮู ตรงบริเวณปลายที่พับด้านใน แล้วนำไปหุ้มกับขั้วหลอดไฟกระพริบ จับเป็นจีบเพื่อให้เป็นทรงดอกไม้ รอบขั้วหลอด
             4. เอาดิ้นทองมาพันรอบขั้วหลอดซ้ำอีกครั้ง เพื่อป้องกันกระดาษหลุด
             5. ทำซ้ำกับแบบนี้ไปทุกดอก จนครบทุกดวง 35หลอด ก็เป็นอันเสร็จแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประหวัดริทเดอะสตาร์






                                        เกิด : 20 มิถุนายน 2533

                                        ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด

                                        ส่วนสูง : 170 ซม.

                                        น้ำหนัก : 55 กก.

                                         การศึกษา : ชั้นปีที่ 1 คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                                         อุปนิสัย : ร่าเริง สดใส สนุกสนาน ขำขัน

                                         คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

                                         แนวเพลง : POP สนุกสนาน

                                         แนวหนัง : Fantacy

                                         สถานที่เที่ยว : ทะเล สวนสนุก

                                         อาหารโปรด : ข้าวผัดไม่ใส่ผัก ข้าวมันไก่ ข้าวหมูทอด

                                         ศิลปินคนโปรด : บี้ The Star

                                         นักแสดงที่ชื่นชอบ : บี้ The Star